ธนบัตรไทยราคาหนึ่งพันบาท รุ่นที่หาได้ยากและมีมูลค่ามากที่สุด
ธนบัตร 1000 บาท
(1000 Baht Banknotes)
เป็นธนบัตรหมุนเวียนในสกุลเงินบาทของประเทศไทย ธนบัตรนี้เริ่มออกใช้
ตั้งแต่ พ.ศ. 2445 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ธนบัตร 1000 บาทที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นธนบัตรไทยแบบที่ 15, 16 และ 17
ธนบัตร 1000 บาท มีความกว้าง 162 มม. และความสูง 72 มม.
โดยมีองค์ประกอบเพื่อความปลอดภัย ได้แก่ ลายน้ำ, ลายเส้นนูน,
ภาพซ้อนทับ, ตัวเลขแฝง, อักษรเบรลล์, หมึกพิมพ์พิเศษ, แถบสี,
แถบฟอยล์ภาพ 3 มิติ, หมึกพิมพ์พิเศษเรืองแสง, กลุ่มดาวยูไรอัน
โดยธนบัตรชนิดราคา 1000 บาท แบบที่ถือว่าหาได้ยาก
และมีราคาแพงที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ ธนบัตรแบบ 1 รุ่นที่ 1
ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2445 ซึ่งธนบัตรแบบ 1 รุ่นที่ 1
มีทั้งหมด 7 ชนิดราคา ได้แก่ 1,5,10,20,50,100 และ 1000 บาท
และชนิดราคาที่ถือว่าเป็นที่สุดของธนบัตรหายากของไทย
ก็คือชนิดราคา 1000 บาท ที่อาจมีราคาในปัจจุบัน
สูงถึงใบละ 5,000,000 บาท (ขึ้นอยู่กับสภาพธนบัตร)
ธนบัตร 1000 บาท แบบ 1 พิมพ์เพียงด้านเดียวด้วยการพิมพ์แบบสีพื้น
ไม่มีความนูนหนาของหมึก มีลายน้ำในเนื้อกระดาษเป็นลายน้ำรูปไอราพต
ช้างสามเศียร และลายน้ำข้อความรัฐบาลไทยและราคา
บริเวณตอนกลางด้านบนมีตราแผ่นดิน ที่มุมทั้ง 4 มีเลขบอกราคา
เป็นเลขไทยและเลขอารบิค หมวดอักษรและหมายเลขไทยอยู่ด้านบนขวา
หมวดอักษรโรมันและหมายเลขอารบิคอยู่ด้านบนซ้าย
พิมพ์วันที่ของธนบัตรไว้ใต้หมวดอัษรและหมายเลขธนบัตร
มีอักษรจีนอยู่ในกรอบด้านซ้าย อักษรมลายูอยู่ในกรอบด้านขวา