คำเรียกชื่อผลไม้ที่ไม่เหมือนคำไทย (ภาษาภูไท)
ภาษาคือเครื่องมือสื่อสารเพื่อเข้าใจ สื่อสารได้เฉพาะกลุ่มที่หลากหลาย
ไม่ว่าจะภาษาอีสาน ภาษาใต้ อู้กำเมือง ยิ่งครบเครื่องวัฒนธรรมแปลงเปลี่ยนเรียนคำภูไท
สระไอกลายสระเออ เม่อ เป็นกลับ แล้วนอนหลับกลางวันว่านอนเงิญ
ภูมิใจในภาษาของตน เวลาพูดออกเสียงได้เต็มคำเพราะว่าเป็นภาษาที่พ่อแม่เราใช้คุยกับเรามาตั้งแต่เกิด ภาษาแรกที่ได้เรียนรู้ในการสื่อสาร เมื่อเราโตขึ้นภาษาเหล่านี้ยังนำมาใช้ในการสื่อสารกับคนในบ้าน ที่เมื่อไหร่เราได้พูดรู้สึกถึงการได้กลับบ้านอยู่กันพร้อมหน้า
เหมือนอย่างภาษาที่จะนำมาเล่าให้ฟังในกระทู้นี้คือ ภาษาภูไท ที่มีความหลากหลายทางด้านของเสียง มีความไพเราะในการพูด ไม่ว่าจะเป็นการสนทนาระหว่างกันสองคน หรือหลายคนย่อมทำได้ แต่หากว่านำออกมาสื่อสารนอกกลุ่มของภูไทแล้วทำให้เกิดการสับสนได้ เพราะว่าในบางคำนั้นไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ เพราะว่าแปลไปเป็นคนละคำ ความหมายเปลี่ยน
คำศัพท์ในวันนี้จะมาเสนอในคำในหมวดของผลไม้ ที่ยังมีภาษาหรือคำที่เรียกต่างกัน กับการใช้ที่เป็นทางการคือภาษาไทยกลางนั้น มาเรียนรู้กันเลย
1. ผลไม้ อย่างแรกเลยเรารู้จักกันในชื่อของ ฝรั่ง แต่ในภาษาภูไทนั้นไม่ได้เรียกผลไม้นี้เหมือนกัน เรียกว่า หม๊ะสีดา สีดาใหญ่ สีดาขี้นกแล้วแต่รูปร่างของผล ถ้าลูกใหญ่เรียกหม๊ะสีดา แต่ลูกเล็กเรียก หม๊ะสีดาขี้นนก
ประสบการณ์ที่อยู่ในความทรงจำมาตลอดคือครั้งหนึ่งได้มีโอกาสเดินทางไปในประเทศที่อาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าประเทศไทยคือที่ไหน เขามองเราไม่ออกว่าเราเป็นคนชาติใด การทักทายครั้งแรกนั้นเขาจะทักทายเราด้วยภาษาสากลคือภาษาอังกฤษ
เราไปตลาดด้วยกันที่เขาเรียกกันว่าตลาดกาเชียตลาดที่มีความเก่าแก่ที่สุดในประเทศอินเดียในสมัยพุทธกาล พอเราเห็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่เขากำลังทานอยู่นั้น เขาถามมันว่าที่ประเทศของเรามีไหม เราบอกว่ามีเยอะเลย เขาเองถามต่อว่ามันเรียกว่าอะไรพอเราตอบว่ามันคือส้ม และแปลเป็นภาษาสากล พ่อค้าหันมาถามเราเลยว่า เราคือคนไทยใช่ไหม
สิ่งที่ทำให้รู้ว่าเราคือคนไทยคือการออกเสียงและการเรียกชื่อของผลไม้ เพราะฉะนั้นภาษาคือสิ่งที่ระบุในความเป็นตัวตนของเราด้วย สื่อสารด้วยอวัจนภาษา ไม่ต้องพูดคุยก็สื่อสารได้
2. ต่อมาเลย ผลไม้ชนิดนี้ออกเสียงเหมือนกัน แต่เสียงอาจจะเพี้ยนไปบ้าง คือ ทุเลน นั่นคือทุเรียน เป็นผลไม้ที่กลิ่นฟุ้งกระจายมากกว่าหนึ่งเมตร แล้วเวลาใครที่ทานแล้วจะติดทั้งปากและมือ ยากจะล้างออกในคราวเดียวได้
3. ต่อไปมีตารอบตัว แบบนี้เรียกว่าสับปะรด เป็นผลไม้ที่มีชื่อเรียกหลากหลายตามภาคของประเทศไทย ผลไม้ชนิดนี้ ภูไทเรียกว่า หม๊ะนัด อาจจะมีหลายตา เปรียบกับคนมาพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เลยเรียกว่าหม๊ะนัด
4. มะม่วง หรือ ภูไท เรียกว่า หม๊ะโม้ง ผลไม้ที่เวลาสุกจะสุกพร้อมกันและออกมาเป็นจำนวนมาก เกลื่อนตลาดเป็นผลไม้ที่มีรสชาติหวานหอมแล้วแต่ชนิด
มะม่วงเป็นผลไม้ที่มีการเรียกชื่อตามสีของมัน มะม่วงเขียวเสวย มะม่วงน้ำดอกไม้ แต่สำหรับภูไทเองมีชื่อเรียกแต่ละชนิดแตกต่างกัน อย่างมะม่วงก๊อสอ มะม่วงหม้องข้าว มะม่วงอ๊กน๊ก
นอกจากนั้นยังมีผลไม้อีกมากมายหลายชนิดอย่างเช่น มะเขิบ หรือ ภาษาไทยกลางเรียกว่า น้อยหน่า คำเหล่านี้ยังมีการใช้สื่อสารในหมู่บ้าน และคนในครอบครัว ซึ่งในบางคนนั้นสามารถที่จะฟังภาษาได้ในทุกภาษาแต่การตอบนั้นอาจจะลำบากในการสื่อสาร เพราะว่าพูดได้แต่เพียงสำเนียงภาษาภูไท จึงเกิดความไม่มั่นใจ ซึ่งในบางครั้งการสื่อสารยังจะต้องใช้ล่ามในการแปลความหมายให้เข้าใจตรงกัน
ประเทศไทยประเทศที่มีความหลากหลายในเรื่องของวัฒนธรรม นอกจากวัฒนธรรมต่างกันแล้ว ภาษาก็มีจำนวนมากเช่นกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือเสน่ห์ของประเทศไทย คนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยรวมถึงคนต่างชาติจะต้องมีความเข้าใจในการสื่อสารด้วย บางครั้งซื้อของนั้นหากว่าคุยกันไม่เข้าใจคนไทยอาจจะไม่ขายให้ได้เช่นกัน
รักในความเป็นไทย ทานอาหารไทย นิยมของไทย ภาษาก็เช่นกันก่อนที่จะหายไปกับบรรพบุรุษ ต้องใช้และรักษาไว้






















