ภัยแอร์ไลน์ "หลุมอากาศ" ที่ทุกคนต้องรู้
จากอุบัติเหตุของสายการบิน"สิงค์โปร์แอร์ไลน์" เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 รายและบาดเจ็บร่วม 70 ราย สาเหตุเกิดจากการที่เครื่องบินได้ไปตกหลุมอากาศ ทำให้ไม่สามารถเดินทางต่อได้ จึงได้ขอจอดฉุกเฉินที่สนามบินสุวรรณภูมิ ที่ประเทศไทย จึงเป็นเหตุให้เกิดเหตุการณ์สูญเสียชีวิตของผู้โดยสารและมีผู้ได้รับบาดเจ็บ จำนวนดังกล่าวข้างต้น
วันนี้ผู้เขียนอยากจะมาเล่าถึง"หลุมอากาศ" อ้างอิงจากผู้ที่ผ่านการเรียนวิศวกรรมอากาศยาน Aerostructure Engineering ว่าคืออะไร ทำไมเราต้องรู้ เพื่อความปลอดภัยในการโดยสารเครื่องบิน
"หลุมอากาศ" คือ บริเวณที่ความหนาแน่นของมวลอากาศบางลง จากสภาพของอุณหภูมิ ความกดอากาศ เวลาปกติ เครื่องบินจะบินผ่านอากาศด้วยปีก(แน่นอน) เพราะอากาศใต้ปีกที่หนาแน่นกว่าอากาศบนปีกจะดันให้เครื่องบินลอย หรือ บินได้ และ ไม่ตกลงพื้นดิน แต่เมื่อเครื่องบิน บินผ่านหลุมอากาศ อากาศที่ใต้ปีกจะเบาบางลง เบากว่าอากาศบนปีก ดังนั้น แรงอากาศที่ยกปีกก็จะลดลงกระทันหัน ทำให้ตัวเครื่องบิน "ตก" ลงไปนิดนึง ถึงตกมาก
อธิบายแบบง่ายๆก็คือ เครื่องบินลอยได้เพราะปีกแหวกอากาศให้เกิดแรงยกเครื่องขึ้น แต่พอบินไปในที่อากาศบาง ปีกไม่แหวกอากาศ มันก็ร่วงลงไปเลยนั่นแหละครับ พอเครื่องบินตกลงมาเจออากาศที่หนาแน่นขึ้น เครื่องก็กลับมาทรงตัวได้ใหม่ ทำให้บางครั้งเครื่องตกหลุมไม่ลึก แต่ในเคส สิงคโปร์ แอร์ไลน์ หลุมอากาศลึกมากถึง เกือบ 2 กิโลเมตร
เรื่องหลุมอากาศนี้ ต่อให้กัปตันเก่งกาจขนาดไหน มีชั่วโมงบินมากมายขนาดไหน ก็มองไม่เห็นหลุมอากาศครับ แม้แต่เรด้าร์ ที่ติดตั้งที่จมูกเครื่องบินในปัจจุบัน ที่มีความไวต่อสภาพอากาศภายนอกมาก บางครั้งยังวัดความเบาบางของอากาศไม่ได้ ถ้ากรณีที่เรดาร์สามารถวัดได้
กัปตันก็จะบินหลุมอากาศไป หรือ ถ้าบินผ่านปะทะลมแรง และเรดาร์วัดได้ว่าลมพัดแรงขนาดไหน เครื่องสั่นมากสั่นน้อย กัปตันจะสั่งให้เรารัด
เข็มขัด ส่วนพวกที่เจ็บตัวจากเครื่องบินตกหลุมอากาศ มักจะเป็นพวกพนักงานต้อนรับเพราะต้องคอยบริการ และพวกที่ชอบเดินไป-เดินมาบนเครื่องบิน หรือพวกที่ไม่ยอมรัดเข็มขัดกันระหว่างที่เครื่องกำลังบิน เวลาเครื่องบินตกหลุมอากาศร่วงตุ้บลงมา ตัวก็เลยลอยไปฟาดนู่น ฟาดนั่น หัวโขกกับเพดานเครื่องบิน หรือตัวปลิวไปโดนกับที่เก็บสัมภาระเป็นต้น หรือไม่ก็ กระเป๋าหล่นลงมาจากที่เก็บด้านบนมากระแทกศรีษะ ดังนั้น สายการบินจึงให้ความสำคัญกับน้ำหนักกระเป๋าหิ้วขึ้นเครื่อง ไม่ให้เกิน 8 กิโลกรัม เป็นต้น ซึ่งในเคส สายการบินสิงคโปร์ กรณีที่มีผู้เสียชีวิต 1 ราย อายุ 73 ปีนั้น เกิดจากหัวใจวายฉับพลัน น่าจะมาจากอาการตกใจ และอาจจะเป็นโรคหัวใจอยู่แล้วด้วยครับ
เนื้อเรื่องโดย:loylom อ่านแล้ว อย่าลืม แบ่งปัน แชร์ให้ท่าอื่น ๆ ด้วยนะครับ